- Please select “Consent” if you wish to disclose this transaction to the Revenue Department for a double tax deduction.
- Please select “Do not consent” if you do not wish to disclose this transaction to the Revenue Department.
กองทุนปรับปรุงตึกกายวิภาคศาสตร์
D004199
ตึกกายวิภาคศาสตร์ เป็นตึกเรียนวิชาแพทย์หลังแรก ซึ่งมีประวัติยาวนานเกือบร้อยปี ภายในเป็นไม้ มี 3 ชั้น ตึกหลังนี้ นักศึกษาแพทย์มักจะเรียกกันว่า “ตึกกรอสส์” มาจากคำว่า “Gross Anatomy” เพราะเป็นตึกที่ใช้เรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ หนึ่งในวิชานี้คือ วิชามหกายวิภาคศาสตร์ นั่นคือการเรียนชำแหละอาจารย์ใหญ่
หลังจากที่รัฐบาลไทยทำข้อตกลงรับความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อคคี้เฟลเลอร์ (พ.ศ.2466) เพื่อช่วยปรับปรุงโรงเรียนแพทย์ที่ศิริราช หนึ่งในข้อสัญญาคือการสร้างอาคารเรียนและอาคารผู้ป่วย โดยมูลนิธิ ฯ กับรัฐบาลไทยซึ่งเป็นคู่สัญญาจะออกค่าใช้จ่ายฝ่ายละครึ่ง ตึกเรียนแพทย์หลังนี้คือข้อตกลงที่ฝ่ายมูลนิธิ ฯ ต้องเป็นผู้สร้าง แต่ออกแบบโดยช่างของกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) ค่าใช้จ่ายในการสร้างเป็นเงิน 176,702.50 บาท เฉลี่ย ตารางเมตรละ 190 บาท นับว่าเป็นตึกหลังที่แพงที่สุดในสมัยนั้น และเป็นตึกที่ก่อสร้างโดยไม่ลงเสาเข็ม แต่มีลักษณะเป็นฐานแผ่ และมีบ่อสำหรับขังน้ำฝนไว้ข้างใต้
อาคารหลังนี้สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2468 เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ทำการของภาควิชาสรีรวิทยา ชั้นบนเป็นของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ จึงใช้ชื่อว่า “ศาลากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา” ส่วนด้านหลังของอาคารมีลิฟท์แบบไม่มีผนังกั้น สำหรับยกร่างอาจารย์ใหญ่ขึ้นชั้น 2 เพื่อเตรียมให้นักศึกษาแพทย์เรียนในวิชามหกายวิภาคศาสตร์
ต่อมาปี พ.ศ. 2477 ได้เสริมต่ออาคารเป็น 3 ชั้น ด้วยเงินรายได้ของโรงพยาบาลศิริราช โดยแผนกสรีรวิทยาได้พื้นที่เพิ่มขึ้น คือ ครึ่งหนึ่งของชั้นที่ 2 ส่วนที่เหลือเป็นที่ทำการของภาควิชากายวิภาคศาสตร์
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าชั้น 3 ของตึกนี้ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์กายวิภาค-คองดอน สิ่งแสดงส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์เริ่มต้นมาจากการเก็บรวบรวมสื่อการสอนของนักเรียนแพทย์ โดยศาสตราจารย์เอ็ดการ์ด เดวิดสัน คองดอน นักสัตววิทยาจากอเมริกา ที่เข้ามาปรับปรุงหลักสูตรกายวิภาคศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2470 ตามความร่วมมือกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน เมื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์จึงใช้ชื่อคองดอนเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน และได้เปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2497
ในปี พ.ศ. 2488 ตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อาคารภายในโรงพยาบาลศิริราชได้รับความเสียหายจากระเบิดหลายหลัง โดยเฉพาะศาลากายวิภาค ฯ นั้น กระเบื้องและหน้าต่างกระจกแตกเสียหายทั้งหมด และในปี พ.ศ.2508 ได้ต่อเติมชั้นบริเวณช่องกลางของตัวตึก สำหรับเลี้ยงสัตว์ทดลอง จนเมื่อภาควิชาสรีรวิทยาย้ายไปอยู่ตึกสรีรศาสตร์ที่สร้างขึ้นใหม่ อาคารแห่งนี้จึงได้เป็นที่ทำการของภาควิชากายวิภาคศาสตร์เพียงแผนกเดียว และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตึกกายวิภาคศาสตร์” อย่างที่เรียกกันอยู่ทุกวันนี้
ตึกกายวิภาคศาสตร์ได้รับการต่อเติมทางฝั่งตะวันออกเมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร ได้รวบรวมโบราณวัตถุและเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ ที่สะท้อนถึงรากเหง้าบรรพชนไทยเอาไว้
ตึกนี้คงใช้เรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ต่อมาอีกหลายปี จนกระทั่งตึกศรีสวรินทิราซึ่งอยู่ด้านหลังตึกกายวิภาคศาสตร์ ได้สร้างเสร็จ ในปี พ.ศ. 2554 ทั้งภาควิชาและการเรียนชำแหละอาจารย์ใหญ่ได้ย้ายไปอยู่ตึกนั้นทั้งหมด ส่วนตึกกายวิภาคศาสตร์นั้นยังคงมีพิพิธภัณฑ์ทั้งสองแห่งเปิดให้เข้าชม รวมถึงเป็นที่รับบริจาคร่างกายเพื่อเป็นอาจารย์ใหญ่อีกด้วย ในอนาคต ตึกนี้จะพัฒนาให้เป็นพิพิธภัณฑ์ทั้งหลัง
Other donation channels
Donors can donate through Siriraj Foundation’s website or check other donation channels For example, monthly direct debit donations, self-donation, etc.
See all donation channels
กองทุนเพื่อผู้ป่วยด้อยโอกาส ฯ ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวาระ 70 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
Urgent
Building
D707070
เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราชที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการรักษา
กองทุนพระพุทธสุทธินิราพาธ
Urgent
Building
D004348
เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาสทางโรคกระดูกเเละข้อ รวมถึงพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม การบริการ เเละการเรียนการสอนทางด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์