ติดต่อเรา

กองทุนผ่าตัดปอดด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง

D004339

         ในปัจจุบันการผ่าตัดต่าง ๆ ในช่องทรวงอกได้พัฒนาไปเป็นอย่างมาก มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยให้การผ่าตัดให้มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ ช่วยรักษาให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคร้าย เพิ่มคุณภาพชีวิต และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก แต่สำหรับผู้ป่วยทั่ว ๆ ไป การเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาเหล่านี้ยังค่อนข้างจำกัด ทั้งสถานพยาบาลที่มีเครื่องมือพร้อมเพรียง หรือค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ตามมา

         ทั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีที่โรงพยาบาลศิริราชมีเครื่องมือการรักษาที่พร้อมเพรียง รวมถึงทีมแพทย์ บุคคลากรที่มีความชำนาญในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาที่ตามมากับเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น จึงยังเป็นข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยอีกมากมายที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการรักษา

         จุดประสงค์ของกองทุนนี้เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งปอด มะเร็งต่อมไทมัส เนื้องอกในช่องทรวงอก ภาวะกระดูกอกผิดรูป เป็นต้น โดยผู้ป่วยเหล่านี้อีกจำนวนมากยังขาดแคลนทุนทรัพย์ในการรักษาที่ใช้เทคโนโลยีสูง ๆ ให้สามารถเข้าถึงการรักษาที่จำเพาะและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อให้หายขาดจากโรค สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ และมีคุณภาพชีวิตหลังการรักษาที่ดีขึ้น

         ทั้งนี้จะยกตัวอย่างการรักษาที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยการสนับสนุนของกองทุนจากศิริราชมูลนิธิที่ผ่านมา คือ การผ่าตัดปอดโดยใช้หุ่นยนต์ (Robotic-Assisted Thoracoscopic Surgery) ซึ่งจนกระทั่งปัจจุบัน โรงพยาบาลศิริราชได้ทำการรักษาผู้ป่วยโดยใช้วิธีนี้ไปกว่า 70 ราย ในระยะเวลาประมาณ 2 ปี และทุกรายสามารถกลับมามีชีวิตที่ปกติได้อย่างรวดเร็ว และหายจากโรคที่เป็นอยู่

         การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดในช่องอก คือการผ่าตัดที่ควบคุมโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการผ่าตัดเพื่อให้เข้าถึงอวัยวะที่ซับซ้อนและเข้าถึงได้ยาก จึงทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำมาก สามารถลดความบอบช้ำ และทำให้คนไข้สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว  โดยการควบคุมและดำเนินการผ่าตัดจะต้องทำแบบ real time ในห้องผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดเท่านั้น ปัจจุบันการผ่าตัดโดยวิธีนี้ เป็นวิธีที่ทันสมัยและได้รับการกล่าวถึงในวงกว้าง

 

ข้อได้เปรียบของการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด คือ

  • มีความแม่นยําสูง – แม้ในอวัยวะขนาดเล็กและซับซ้อน
  • แผลมีขนาดเล็ก
  • ลดความเจ็บปวด
  • ลดการบอบช้ําของเนื้อเยื่อโดยรอบ
  • ลดระยะการฟื้นตัวและการนอนโรงพยาบาล
  • ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตตามปรกติได้รวดเร็วขึ้น

 

กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถรักษาโดยวิธีใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ได้แก่

  • พยาธิสภาพอยู่ในปอด เช่น เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (benign lesion), มะเร็งปอดระยะที่ 1-2-3 (early stage lung cancer), ก้อนติดเชื้อในปอด, ภาวะลมรั่วในปอด

         ** ขนาดก้อนไม่ควรเกิน 5 เซนติเมตร เพราะก้อนจะใหญ่จนเอาออกผ่านแผลผ่าตัดไม่ได้ (เราไม่สามารถใช้วิธีผ่าก้อนให้เล็กลงก่อนนําออกมาได้ เพราะจะทําให้มะเร็งแพร่กระจาย และมีผลต่อการแปลผลชิ้นเนื้อ) 

         ** ทั้งนี้ต้องพิจารณาระยะการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและต่อมน้ําเหลืองด้วย

  • พยาธิสภาพบริเวณเนื้อเยื่อกลางอกระหว่างปอดสองข้าง (Mediastinum) ได้แก่ กลุ่มเนื้องอกบริเวณเนื้อเยื่อเมดิแอสตินั่ม (mediastinal tumor), กลุ่มโรคอ่อนแรงหนังตาตก (myasthenia gravis) ที่มีข้อบ่งชี้ในการตัดต่อมไธมัสออก, การผ่าตัดแก้ไขเส้นประสาทซิมพาเทติก (sympathectomy)
  • Thoracic outlet syndrome โรคที่เกิดจากซี่โครงซี่แรกไปกดเบียดเส้นเลือดหรือเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน

         ** โดยใช้หลักการพิจารณาเดียวกับข้อแรกคือ ก้อนเนื้องอกไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่กําหนด และไม่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง

 

         ทั้งนี้ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและให้คำแนะนำทางเลือกการรักษาโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

         ในด้านการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วย เนื่องจากการผ่าตัดรูปแบบนี้เป็นการผ่าตัดใหญ่ (ที่มีแผลเล็ก) ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการแจ้งถึงขั้นตอนการรักษา การปฏิบัติตัวและแนวโน้มผลการรักษาเพื่อประโยชน์สูงสุดของการรักษา โดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการใช้หุ่นยนต์และทีมการรักษาที่มีความเชี่ยวชาญอย่างรัดกุม

         โดยทีมประกอบด้วยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ผู้ช่วยศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์ พยาบาลประจำห้องผ่าตัดที่ได้รับการฝึกความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และทีมวิสัญญีแพทย์ที่มีความชำนาญ 

         ทั้งนี้การเตรียมการทั้งด้านบุคลากรและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพจะเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพและความแม่นยำ สามารถลดความบอบช้ำ ลดการเสียเลือดระหว่างผ่าตัด ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน  ลดระยะเวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล และผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้อย่างรวดเร็ว

ช่องทางบริจาคอื่น ๆ

ท่านสามารถร่วมบริจาคผ่านเว็บไซต์ศิริราชมูลนิธิ หรือตรวจสอบช่องทางการบริจาคแบบอื่น ๆ
เช่น การบริจาคแบบตัดบัตรเครดิตรายเดือน การบริจาคด้วยตนเอง ฯลฯ ได้ที่

ช่องทางบริจาคทั้งหมด

กองทุนผ่าตัดปอดด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง

จำนวนเงินที่ประสงค์บริจาค (บาท)

(ยอดบริจาคขั้นต่ำเพื่อออกใบเสร็จ 100 บาท)

กองทุนเพื่อผู้ป่วยด้อยโอกาส ฯ ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวาระ 70 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

เร่งด่วน

เพื่อผู้ป่วยด้อยโอกาส

สนับสนุนเครื่องมือแพทย์

การศึกษา

D707070

เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราชที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการรักษา

กองทุนพระพุทธสุทธินิราพาธ

เร่งด่วน

เพื่อผู้ป่วยด้อยโอกาส

สนับสนุนเครื่องมือแพทย์

การศึกษา

D004348

เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาสทางโรคกระดูกเเละข้อ รวมถึงพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม การบริการ เเละการเรียนการสอนทางด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์